วิชาการ / หลักสูตรปริญญาตรี ของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม


ลักษณะการศึกษา ประมวลรายวิชาระดับปริญญาตรี แผน 1: เคมีอุตสาหกรรมทั่วไป แผน 2: วิทยาศาสตร์ซิลิเกตและเทคโนโลยี

ลักษณะการศึกษา (ปริญญาตรี)

  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ เน้นเนื้อหาในอุตสาหกรรมเคมีที่ประเทศไทยมีหรือสามารถนำเข้าทรัพยากร เพื่อแปรรูปเป็นวัตถุดิบ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ มีศักยภาพในการพึ่งตนเองหรือแข่งขันได้ในระดับส่งออก ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพอลิเมอร์ อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมพื้นฐานอื่น ๆ ซึ่งยังขาดแคลนบุคลากรอีกมาก ดังสถิติของกรมแรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ประเมินในปี พ.ศ. 2539 จากจำนวนโรงงานทั้งสิ้นของประเทศไทย 126,814 โรงงาน มีคนงาน 3,152,220 คน แต่มีเพียง 10-12% เท่านั้นที่เป็นผู้มีคุณวุฒิจบปริญญาตรีขึ้นไป และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ สัดส่วนจำนวนบุคลากรวิจัยและพัฒนาที่ทำงานเต็มเวลาเฉลี่ยในช่วง ปี พ.ศ. 2530-2540 มีเพียง 3-4 คน ต่อประชากร 10,000 คน เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีสัดส่วนนี้สูงถึง 50-70 คนต่อประชากร 10,000 คน
        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ได้มีส่วนร่วมในการผลิตกำลังคน ระดับปริญญาตรี เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศในส่วนนี้ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มเปิดหลักสูตร จนถึงปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตปริญญาตรีแล้ว 10 รุ่น เป็นจำนวนประมาณ 500 คน หรือประมาณ 50 คนต่อปี
        ประเทศไทยมีแหล่งสถาบันการศึกษา ที่ผลิตบัณฑิตปริญญาตรี สาขาเคมีอุตสาหกรรม หรือ เคมีเทคนิค 4 สถาบันเท่านั้น คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวนการผลิตกำลังคนทั้งหมดประมาณ 200 คนต่อปี หรือเฉลี่ยประมาณ 50 คนต่อปีต่อสถาบัน สัดส่วนของบัณฑิตปริญญาตรี สาขานี้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็น 20% ของกำลังการผลิตบัณฑิตปริญญาตรีสาขานี้ ทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น่าพอใจ บัณฑิตของหลักสูตรมีอัตราการได้งานทำ และศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ภายใน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยประมาณ 80% และ 13% ตามลำดับ รวมเป็น 93% สัดส่วนการเข้าทำงานในภาคเอกชนต่อภาครัฐประมาณ 95% : 5% และบัณฑิตที่ทำงาน 55% มีอัตราเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท และ 35% มีอัตราเงินเดือน 10,000-15,000 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2547

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2549 

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2554 

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2564 

 

แบบฟอร์ม/คู่มือ

 

 แบบฟอร์ม / แนวปฏิบัติ สำหรับนักศึกษา

คู่มือการทำปัญหาพิเศษทางเคมีอุตสาหกรรม  ( Download pdf file )

       


แผน 1 : เคมีอุตสาหกรรมทั่วไป

        เปิดสอนกระบวนวิชาเอกบังคับเกี่ยวกับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเคมี พื้นฐาน ของประเทศ สมดุลมวลสาร สมดุลพลังงานและหน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมเคมี ซึ่ง เป็นความรู้พื้นฐานที่ประยุกต์ใช้ได้ในการควบคุมอุตสาหกรรมเคมีทุกประเภท ในส่วนของ กระบวนวิชาเลือก เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกกระบวนวิชาเรียนได้ หลากหลายในแขนงต่าง ๆ 3 แขนง ได้แก่
ปิโตรเคมีและเชื้อเพลิง
        ศึกษาเกี่ยวกับการนำทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทชีวมวล ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน เป็นต้น มาแปรสภาพ เป็นสารเคมีตั้งต้นของกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมเคมี และเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม และในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังศึกษาเกี่ยวกับแหล่งเชื้อเพลิงทุติยภูมิและการเผาไหม้ กระบวนวิชาเอกเลือกที่เปิดสอน ในแขนงนี้ ได้แก่
เทคโนโลยีพอลิเมอร์

        ศึกษาเกี่ยวกับ การนำสารเคมีตั้งต้นที่ได้จากการ กลั่นปิโตรเลียม ซึ่งเรียกว่า “มอนอเมอร์” มาผลิตเป็น สารเคมีที่มีโมเลกุลเป็นสายโซ่ยาว เรียกว่า “พอลิเมอร์” และศึกษาเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ รวมทั้งการนำพอลิเมอร์ กลับมาใช้ใหม่
เคมีโลหกรรม

        ศึกษาเกี่ยวกับการนำทรัพยากรธรรมชาติประเภทสินแร่ มาแปรสภาพเป็นโลหะบริสุทธิ์ โดยใช้ความร้อน สกัดด้วยสารละลายน้ำ และแยกสลายด้วยไฟฟ้า การผลิตโลหะผสม กระบวนการเคมีที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ และการวิเคราะห์เชิงเคมีเบื้องต้น ที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ

        นักศึกษาที่เลือกแผนนี้ มีอิสระในการเลือกลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาเอกเลือก ในแขนงวิชาต่าง ๆ ข้างต้น รวมทั้งสามารถลงทะเบียนกระบวนวิชาทีเปิดสอนในแผน 2 : วิทยาศาสตร์ซิลิเกตและเทคโนโลยี เพื่อเป็นวิชาเอกเลือกได้ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ที่ต้องผ่านก่อนของแต่ละกระบวนวิชา

        สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเน้นหนักการเรียนในแขนงวิชาใด ๆ ในแผนนี้ สามารถเลือก หัวข้อสัมมนาและศึกษาปัญหาพิเศษ ซึ่งเป็นกระบวนวิชาบังคับในชั้นปีที่ 4 (209498 และ 209499) ในแขนงวิชานั้น ๆ ได้ ซึ่งภาควิชาจะชี้แจงรายละเอียดการเลือกแผน ให้ทราบในช่วงก่อน การละทะเบียนล่วงหน้าของภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 2 และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกแผนและหัวข้อปัญหาพิเศษ พร้อมประกาศผล ในช่วงสิ้นภาค การศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 2

 

 

แผน 2 : วิทยาศาสตร์ซิลิเกตและเทคโนโลยี

        เปิดสอนกระบวนวิชาเอกบังคับเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา กระเบื้อง เครื่องสุขภัณฑ์ วัสดุทนไฟ ฉนวนไฟฟ้า ซีเมนต์ แก้ว วัสดุขัด และสารเคลือบ เน้นกรรมวิธีการทำให้วัตถุดิบมีคุณภาพ และตรวจสอบคุณภาพและการประกันคุณภาพ ผลิตภัณฑ์เซรามิก

        นักศึกษาที่เลือกศึกษาในแผน 2 ก็มีอิสระในการเลือกลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชา ในแขนงต่างๆ ที่เปิดสอนในแผน 1 : เคมีอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อเป็นวิชาเอกเลือกได้ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อนของแต่ละกระบวนวิชาเช่นเดียวกัน

        นักศึกษาที่เลือกเรียนในแผนนี้ จะต้องเลือกหัวข้อสัมมนาและศึกษาปัญหาพิเศษในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ซิลิเกตและเทคโนโลยีเท่านั้น ซึ่งภาควิชาจะชี้แจงรายละเอียด การเลือกแผนให้ทราบในช่วงก่อนการละทะเบียน ล่วงหน้าของภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 2 และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกแผนและหัวข้อปัญหาพิเศษ พร้อมประกาศผล ในช่วงสิ้นภาค การศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 2

 

ประมวลรายวิชาระดับปริญญาตรี

(Thai Course Syllabus)
ว.คอ.(209)201 ว.คอ.(209)203 ว.คอ.(209)204 ว.คอ.(209)211 ว.คอ.(209)212 ว.คอ.(209)301 ว.คอ.(209)302 ว.คอ.(209)304
ว.คอ.(209)311 ว.คอ.(209)312 ว.คอ.(209)313 ว.คอ.(209)316 ว.คอ.(209)322 ว.คอ.(209)331 ว.คอ.(209)332 ว.คอ.(209)341
ว.คอ.(209)342 ว.คอ.(209)401 ว.คอ.(209)402 ว.คอ.(209)411 ว.คอ.(209)412 ว.คอ.(209)413 ว.คอ.(209)414 ว.คอ.(209)415
ว.คอ.(209)416 ว.คอ.(209)423 ว.คอ.(209)424 ว.คอ.(209)427 ว.คอ.(209)492 วศ.ค.(258)301 วศ.ค.(258)302 วศ.ค.(258)308
วศ.ค.(258)403 วศ.ค.(258)407 วศ.ค.(258)472 วศ.ค.(258)474 พลม.(262)381 พลม.(262)481 พลม.(262)483 พลม.(262)487
(English Course Syllabus)
ว.คอ.(209)201 ว.คอ.(209)203 ว.คอ.(209)204 ว.คอ.(209)211 ว.คอ.(209)212 ว.คอ.(209)301 ว.คอ.(209)302 ว.คอ.(209)304
ว.คอ.(209)311 ว.คอ.(209)312 ว.คอ.(209)313 ว.คอ.(209)316 ว.คอ.(209)322 ว.คอ.(209)331 ว.คอ.(209)332 ว.คอ.(209)341
ว.คอ.(209)342 ว.คอ.(209)401 ว.คอ.(209)402 ว.คอ.(209)411 ว.คอ.(209)412 ว.คอ.(209)413 ว.คอ.(209)414 ว.คอ.(209)415
ว.คอ.(209)416 ว.คอ.(209)423 ว.คอ.(209)424 ว.คอ.(209)427 ว.คอ.(209)492 วศ.ค.(258)301 วศ.ค.(258)302 วศ.ค.(258)308
วศ.ค.(258)403 วศ.ค.(258)407 วศ.ค.(258)472 วศ.ค.(258)474 พลม.(262)381 พลม.(262)481 พลม.(262)483 พลม.(262)487